เกลืออันตราย

เกลือ…อันตรายที่มองไม่เห็น (Health Plus)
แม้คุณจะกินอาหารดีเลิศมากแค่ไหนก็ตาม คุณยังหนีไม่พ้นต้องบริโภคเกลือจำนวนมากที่อยู่ในอาหาร มันซ่อนอยู่ในทุกสิ่งตั้งแต่บิสกิตไปจนถึงซีเรียลอาหารเช้า วันนี้คุณจำกัดการบริโภคเกลือแล้วหรือยัง

@@@ เกลือ…อันตรายที่มองไม่เห็น @@@
เราทราบมานานแล้วว่าการบริโภคเกลือมากเกินไปไม่ดีต่อร่างกาย และเราควรลดการบริโภค มิฉะนั้นอาจก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งนำไปสู่การเป็นโรคหัวใจและโรคอื่น ๆ ได้ หลายคนยังไม่เข้าใจ และมีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังบริโภคเกลือมากเกินไปจนเป็นอันตราย

เกลืออันตราย- ระวัง อาหารโซเดียมสูง - เกลือ - ข้อเท็จจริง ทานอาหารเกลือต่ำ
เกลืออันตราย – ระวัง อาหารโซเดียมสูง – เกลือ – ข้อเท็จจริง ทานอาหารเกลือต่ำ ภาพประกอบจาก อินเทอร์เน็ต

“ตามปกติการบริโภคอาหารฟาสต์ฟู้ด เปิดช่องให้เราได้รับเกลือได้สะดวกที่สุด ทั้งทั้งให้สารอาหารจำเป็นไม่ครบถ้วน” เอียน มาร์เบอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการของ Health Plus กล่าว “อาหารมากมายเหล่านี้มีเกลือและน้ำตาลมากเกินไป”

The Food Agency (FSA) แนะให้ทานเกลือไม่เกินวันละ 6 กรัม แต่ข้อมูลจากกรมสุขภาพระบุว่า คนส่วนใหญ่มีแนวโน้มบริโภคเกลืออย่างน้อยวันละ 9 กรัม และโดยมากบริโภคเกินกว่านั้น ขณะเดียวกันเกลือก็จำเป็นต่ออาหาร และมีความสำคัญต่อการทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ ที่จริงเราจำเป็นต้องได้รับเกลือแค่วันละ ? กรัม เพื่อให้ร่างกายทำหน้าที่ได้เป็นปกติ การบริโภคมากเกินไปก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ มากมาย

ถ้าคุณเป็นโรคความดันโลหิตสูง คุณก็มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคหัวใจ หรือโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดมากขึ้นถึง 3 เท่าเมื่อเทียบกับคนที่บริโภคในปริมาณปกติ ลำพังในประเทศอังกฤษ มีคนเสียชีวิตด้วยโรคความดันโลหิตสูงมากกว่า 170,000 คนต่อไป ไมเพียงแค่นั้น การบริโภคเกลือมากเกินไปเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร กระดูกพรุน หอบหืด และน้ำหนักตัวเพิ่ม ทำให้อาการผิดปกติก่อนมีประจำเดือน (PMS) รุนแรงมากขึ้น

@@@ Health Plus Fact @@@
การสำรวจล่าสุดของสถาบัน The British Heart Foundation พบว่า 96% ของคนอังกฤษไม่มีความรู้เรื่องการบริโภคเกลืออย่างปลอดภัย

@@@ อันตรายที่ซ่อนอยู่ @@@
มีหลักฐานมากมายที่สนับสนุนให้ลดการบริโภคเกลือ และทางที่ดีควรเริ่มจากการคำนวณว่าเกลือ 6 กรัม มีอัตราส่วนเท่าไร คิดง่ายๆ เกลือ 1 ช้อนชา มีค่าประมาณ 5 กรัม แต่เป็นเรื่องยากที่จะวัดว่าเกลือที่คุณกินมีปริมาณมากน้อยแค่ไหน เนื่องจากอาหารส่วนมากมักมีเกลือซ่อนอยู่ ถ้าอาหารใดมีรสจืด ๆ อาจเป็นไปได้ว่ามีเกลืออยู่น้อย เนื่องจากในอุตสาหกรรมอาหารจะเติมเกลือลงไป เพื่อเพิ่มรสชาติ อาหารสำเร็จรูปที่มีชื่อส่วนใหญ่มีเกลืออยู่เป็นจำนวนมาก นี่จัดเป็นวิธีที่ถูกที่สุดในการเพิ่มรสชาติให้อาหาร และช่วยยืดอายุผลิตภัณฑ์ที่วางขายอยู่บนชั้นวาง

ผู้ผลิตอาหารและซูเปอร์มาร์เก็ตต่าง ๆ ถูกวิพากษ์วิจารณ์ เนื่องจาก 80% ของเกลือที่กินมาจากอาหารที่ผ่านการแปรรูป ไม่ใช่มาจากเกลือที่เราโรยในอาหาร นักโภชนาการเตือนว่าเกลือที่ซ่อนในอาหารนี่เองที่เป็นต้นตอของปัญหา

เมื่อเร็ว ๆ นี้ FSA ได้ทดสอบอาหารปรุงสำเร็จประเภทลาซานญ่าเพื่อสุขภาพ สำหรับรับประทานคนเดียว อันที่จริงไม่น่าจะเรียกว่าอาหารเพื่อสุขภาพ ตัวอย่างเช่น พบว่ามีเกลืออยู่ 3.6 กรัม (หรือ 60% ของปริมาณที่แนะนำให้ทานในแต่ละวัน) และถึงแม้จะมีฉลากบอกว่าเป็น “อาหารเพื่อสุขภาพ” ซึ่งแม้จะทำให้เป็นอาหารไขมันต่ำ แต่ก็มีการเติมเกลือในปริมาณมากเพื่อเพิ่มรสชาติ

การทดสอบยังดำเนินต่อไป โดยสุ่มตัวอย่างจากอาหารปรุงสำเร็จได้แก่ เชพเพิร์ดพาย (shepherd’s pie) และนักเกตไก่ จากผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ และซูเปอร์มาร์เก็ตที่ผลิตสินค้าภายใต้ชื่อยี่ห้อของตัวเอง ผลที่ได้สร้างความตื่นตระหนกอย่างยิ่ง จนมีการเรียกร้องไห้ลดปริมาณเกลือในอาหารปรุงสำเร็จเหล่านี้

@@@ Health Plus Fact @@@
เวลาอ่านฉลากอาหารเพื่อหาปริมาณเกลือ ให้แปลงโซเดียมเป็นเกลือด้วยการเอาปริมาณโซเดียมคูณ 2.5 กรัม ตัวอย่างเช่น โซเดียม 1 กรัม ต่อ 100 กรัม มีค่าเท่ากับเกลือ 2.5 กรัมต่อ 100 กรัม

“เราทราบขั้นตอนที่ผู้ผลิตได้ลดปริมาณเกลือลง แต่ก็ยังไม่ชัดเจนเพียงพอ” เพเนโลป กิลเบิร์ต นักโภชนาการจาก Conesnsus Action on Salt and Health (CASH) กล่าว “ผู้ผลิตอาหารจำเป็นต้องลดเกลือในอาหาร โดยกระทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดตัวเลขการตายในแต่ละปี อันเกิดจากโรคหัวใจวายและโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด” เธอเสริมด้วยว่า “ปริมาณแนะนำให้บริโภคเกลือไม่เกินวันละ 6 กรัม จะไม่เป็นผล หากไม่ลดปริมาณเกลือในผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตลงเหลือครึ่งหนึ่ง”

@@@ กินแค่ไหน @@@
ปัญหาอีกประการเกี่ยวกับการควบคุมปริมาณเกลือที่บริโภคคือ ความสับสนในข้อมูลบนฉลาก เกลือมักถูกระบุเป็นโซเดียม แต่ไม่ได้เอ่ยถึงคลอไรด์ซึ่งมีเกลือเป็นส่วนประกอบอยู่ 60% ดังนั้นโซเดียม 1 กรัมจึงหมายถึงเกลือ 2.5 กรัม หรือเท่ากับโซเดียม 1 กรัม และคลอไรด์ 1.5 กรัม แม้โซเดียมจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ความสับสนอีกอย่างคือฉลากมักระบุปริมาณต่อ 100 กรัม ดังนั้นคุณต้องคำนวณตัวเลขออกมาในสัดส่วนทั้งหมด

@@@ Health Plus Fact @@@
เกลือ 1 ช้อนชา มีค่าประมาณ 5 กรัม
ผลที่ได้หลังจากนั่งคำนวณอย่างจริงจังแล้ว ปริมาณเกลือที่คุณได้รับเกินกว่าที่กำหนด ไม่เพียงจะเป็นอันตรายกับผู้ใหญ่เท่านั้น พ่อแม่เองก็ได้รับคำแนะนำให้ลดเกลือในอาหารของลูกๆ ลงครึ่งหนึ่งหรือมากกว่านั้น เด็กอายุตั้งแต่ 1-6 ปี ควรได้รับเกลือไม่เกินวันละ 2 กรัม อายุ 7-14 ปี ไม่เกินวันละ 5 กรัม ซึ่งเป็นปริมาณล่าสุดที่ FSA แนะนำให้บริโภค แต่ยังกลัวกันว่ามีเด็กอีกจำนวนไม่น้อย ที่บริโภคเกลือในปริมาณเท่ากับผู้ใหญ่ จากรายงานของ Food Commission เมื่อเร็วๆ นี้เตือนว่าอาหารสำหรับเด็กมีเกลือเพิ่มสูงมากจนน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะอาหารที่เป็นตัวการสำคัญอย่างมันฝรั่งทอดกรอบ ถั่วอบกรอบ ซึ่งเป็นอาหารที่เด็กๆ โปรดปราน

@@@ ลดเกลือ @@@
ปัญหาคือเกลือเป็นเหมือนสารเสพติด ยิ่งกินมาก ยิ่งอยากกินอีก จากข้อมูลของสมาคม The British Dietetic Association การพยายามบังคับตัวเองให้ลดการบริโภคเกลือ เป็นเรื่องที่ใช้เวลาไม่นาน การปรับปุ่มรับรสที่ลิ้นของคุณใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ ในการลดบริโภคเกลือ แรกสุดคือการหยุดเติมเกลือในอาหารขณะรับประทาน หรือถ้าขาดไม่ได้ ให้เกลือที่มีโซเดียมต่ำที่มีวางขายอยู่ตามท้องตลาดแทน

@@@ Health Plus Fact @@@
The Food Standards Agency แนะว่า ผู้ใหญ่ไม่ควรบริโภคเกลือเกินวันละ 6 กรัม แต่ข้อมูลจากกรมสุขภาพระบุว่า คนส่วนใหญ่มีแนวโน้มบริโภคเกลืออย่างน้อยวันละ 9 กรัม และโดยมากบริโภคเกินกว่านั้น

เวลาซื้อให้สังเกตฉลากผลิตภัณฑ์ และยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ หากเลือกซื้ออาหารปรุงสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นซุปหรือซอส เนื่องจากมักมีเกลืออยู่ในปริมาณสูง โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันหรือแคลอรี่ต่ำ ผู้ผลิตมักเดิมเกลือลงไปเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เพื่อกลบเกลื่อนความจืดชืด อันเนื่องมาจากขาดไขมัน อาหารประเภทเนื้อราคาถูกมักใส่เกลือเพื่อเพิ่มรสชาติ และอย่างลืมวายร้ายตัวสำคัญนั่น คือ ขนมขบเคี้ยวรสเค็ม เช่น มันฝรั่งทอดกรอบ ถั่วอบกรอบ บิสกิตและที่มองข้ามไม่ได้คือ หากคุณเป็นพวกชอบทานอาหารนอกบ้าน คุณก็จะได้รับเกลือในปริมาณสูงเช่นกัน

@@@ ทางเลือกเพื่อสุขภาพ @@@
เปลี่ยนไปกินอาหารธรรมชาติเช่น ผักและผลไม้สด ปลา ไก่ซึ่งมีโปแทสเซียมสูง ช่วยลดความดันโลหิต (ปริมาณแนะนำในการบริโภคโปแทสเซียมคือ 3.5 กรัม) นอกจากนี้ยังพบในผลไม้อบแห้ง ถั่วต่าง ๆ

“หากบริโภคเกลือมากเกินไป จะไปทำลายไตและขัดขวางการดูดซึมเกลือแร่และสารอาหารสำคัญอื่น ๆ” ดร.กิลเลียน แมคคีธ ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารออร์แกนิกของ Health Plus กล่าว “เกลือจะสร้างความไม่สมดุลระหว่างโปแทสเซียมและโซเดียมในร่างกาย คนที่กินเค็มมักมีกรดในร่างกายสูง เนื่องจากอาหารที่กินส่วนมากเป็นอาหารที่ผ่านการแปรรูป เพื่อสร้างต่างในร่างกายควรหันไปกินผักมาก ๆ และใช้สมุนไพรเป็นตัวปรุงรสในอาหารแทนเกลือ”

@@@ Health Plus Fact@@@
ในประเทศอังกฤษ มีคนเสียชีวิตด้วยโรคความดันโลหิตสูงมากกว่า 170,000 คนต่อปี

การใช้เครื่องปรุงรสทางเลือกเป็นวิธีที่ดี ลองเครื่องเทศ น้ำมะนาว กระเทียม ตะไคร้ ไวน์ พริก และน้ำส้มสายชู หรืออะไรก็ได้ตามจินตนาการของคุณ เพื่อเพิ่มรสชาติให้อาหาร และจำไว้ว่าวิธีปลอดภัยที่สุดในการตรวจสอบการบริโภคเกลือของคุณคือ การซื้อเครื่องปรุงที่ยังดิบและสดด้วยตัวเอง แล้วนำมาปรุงสุกเร็ว ๆ

@@@ คุณบริโภคเกลือมากน้อยแค่ไหน @@@
อาหารประจำวัน มันฝรั่งทอด : 3.1 กรัมต่อ 200 กรัม ถั่วอบกรอบ : 2.98 กรัมต่อ 225 กรัม ขนมปังขาว 2 แผ่น : 1 กรัม นักเกดไก่ 6 ชิ้น : 1.3 กรัม สปาเกดดี : 2 กรัมต่อ 210 กรัม Deep crust pizza : 4.1 กรัมต่อ 225 กรัม แซลมอนรมควัน : 5 กรัมต่อ 112 กรัม คอร์นเฟล็กซ์ : 1 กรัมต่อ 40 กรัม เชดดาร์ซีส (cheddar cheese) 1 กรัมต่อ 60 กรัม

อาหารที่มองว่ามีประโยชน์… ซูซิ : 3 กรัมต่อ 145 กรัม เฟต้าซีส (Feta cheese) : 1.8 กรัมต่อ 60 กรัม คอดเทจซีส (cottage cheese) : 0.2 กรัมต่อ 60 กรัม รานซีเรียล (Bran cereal) : 0.91 กรัมต่อ 40 กรัม โยเกิร์ต : 0.13 กรัมต่อ 100 กรัม Fromage frais (ครีมชีสชนิดหนึ่ง) : 0.1 กรัมต่อ 100 กรัม ซีอิ๊ว : 1 กรัมต่อ 5 กรัม ครีมสเปรดทานตะวัน (Suntlower spread) : 0.17 กรัมต่อ 10 กรัม ถั่วแดงหลวงในน้ำเกลือ : 1 กรัมต่อ 200 กรัม

@@@ โรคที่มากับเกลือ @@@
ความดันโลหิตสูง การบริโภคเกลือมากเกินไป เป็นสาเหตุให้ร่างกายต้องกักเก็บน้ำเพิ่มมากขึ้น จนทำให้หัวใจต้องทำงานหนัก เพื่อดันเลือดไปยังเส้นเลือดที่อยู่ทั่วร่างกาย

บวมน้ำ เกลือทำให้ร่างกายบวมน้ำ โดยเฉพาะที่เกิดกับผู้หญิงในช่วงก่อนมีประจำเดือน ทำให้รู้สึกท้องอืด

กระดูกพรุน ผลการวิจัยระบุว่า การบริโภคเกลือมีส่วนเกี่ยวข้องกับความแข็งแรงของกระดูก เพราะทำให้เกิดการสูญเสียแคลเซียม ผลคือกระดูกเสื่อม

มะเร็งกระเพาะอาหาร การบริโภคเกลือมาก ๆ จะไปทำลายผนังกระเพาะอาหาร จึงเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของโรคแผลในกระเพาะอาหาร และมะเร็งกระเพาะอาหาร

หอบหืด การบริโภคเกลือมาก ๆ ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ การบริโภคเพียงเล็กน้อยช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น จะได้พึ่งยาน้อยลง
ที่มา http://health.kapook.com/view6719.html

Leave a Reply