ทานอาหารเกลือต่ำ

การรับประทานอาหารที่มีเกลือต่ำ – เกลือโซเดียมและโปแตสเซียม
ประเทศไทยและอเมริกามีผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงเป็นจำนวนมาก หลายคนรับประทานเกลือมากเกินไป ยิ่งรับประทานเกลือมากก็มีโอกาสที่จะความดันโลหิตสูง เมื่อความดันสูงโอกาสที่จะเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดจะมีโอกาสมาก เราสามารถบดโอกาสเกิดโรคความดัน โดยการลดเกลือและเพิ่มโปแตสเซียม

@@@ ข้อเท็จจริงที่ควรจะทราบ @@@
– คนเราไม่ควรจะรับเกลือเกิน 2300 มก. (1 ช้อนชา) ต่อวัน

ทานอาหารเกลือต่ำ
ทานอาหารเกลือต่ำ ภาพประกอบจาก อินเทอร์เน็ต

– เกลือที่เราได้รับส่วนใหญ่มาจากอาหาร ที่เรารับประทานประมาณร้อยละ 75 โดยเฉพาะอาหารที่ใช้เกลือถนอมอาหาร เช่นน้ำมะเขือเทศจะมีเกลือ 700-1100 มิลิกรับต่อ 1 ถ้วย เกลือที่เราได้รับจากการปรุงเอง เช่นการใส่น้ำปลา การกินผลไม้จุ้มพริกเกลือมีประมาณร้อยละ 10 ดังนั้นในการควบคุมเกลือในอาหารควรจะคุบประเภทอาหารที่เรารับประทาน เช่น ปลาเค็ม อาหารสำเร็จรูปทั้งหลาย หรือควรจะอ่านสลากอาหารก่อนรับประทานทุกครั้งเป็นต้น

– คนที่เป็นความดันโลหิตสูง หรือกลางคนขึ้นไป และเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูง ต้องรับประทานเกลือโปแตสเซียมวันละ 4700 มิลิกรัม

– วิธีการลดเกลือทำได้โดยการรับประทานอาหารสด ปรุงเอง และใส่เกลือให้น้อยที่สุด และไม่มีการเติมเกลือหรือซ็อสในอาหาร เมื่อร่างกายเริ่มคุ้นกับอาหารรสจืดแล้วเขาจะไม่เรียกร้อยหาเกลืออีก

@@@ การรับประทานเกลือโปแตสเซียมจะช่วยลดความดันโลหิตลงได้ @@@
ผู้ใหญ่ให้รับประทาน 4700 มิลิกรัมต่อวัน
เด็ก 1-3 ปีให้รับประทาน 3000 มิลิกรัมต่อวัน
เด็ก 4-8 ปีให้รับประทาน 3800 มิลิกรัมต่อวัน
เด็ก 9-13 ปีให้รับประทาน 4500 มิลิกรัมต่อวัน
เกลือโปแตสเซียมควรจะได้จากอาหารธรรมชาติ เช่น ผัก โดยเฉพาะผักใบเขียว ผลไม้ ส่วนเนื้อสัตว์หรือนมก็มีเกลือชนิดนี้อยู่ แต่ร่างกายไม่สามารถใช้ได้ทันที

@@@ รับประทานอาหารที่มีเกลือต่ำ @@@
เลือกอาหารที่มีเกลือต่ำ การลดอาหารเค็มจะช่วยป้องกัน และลดความดันโลหิตได้ โดยทั่วไปห้ามกินเกลือเกิน 6 กรัม(เท่ากับ โซเดียม 2400 มิลิกรัม) ท่านผู้อ่านไม่ควรปรุงรสอาหารก่อนชิมอาหาร หากปรุงรสอาหารเองต้องเติมเกลือให้น้อยที่สุด

@@@ เปลี่ยนพฤติกรรมในการปรุงรส @@@
– ใช้มะนาว พริก เครื่องเทศปรุงอาหารแทนเกลือหรือน้ำปลา

– หากท่านซื้ออาหารกระป๋อ งท่านต้องอ่านสลากอาหาร เพื่อดูปริมาณสารอาหารเลือกที่มีเกลือต่ำ

– รับประทานอาหารสด เช่น เนื้อสัตว์ ผัก หรือผลไม้ แทนการรับประทานอาหารที่ผ่านขบวนการถนอมอาหาร

– ไม่เติมเกลือหรือน้ำปลาเพิ่มในอาหารที่ปรุงเสร็จ

– หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม เช่น หมูเค็ม เบคอน ไส้กรอก ผักดอง มัสตาร์ด และเนยแข็ง

– อาหารตากแห้ง เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม หอยเค็ม กุ้งแห้ง ปลาแห้ง

– เนื้อสัตว์ปรุงรส ได้แก่ หมูหยอง หมูแผ่น กุนเชียง

– อาหารกึ่งสำเร็จรูป เช่น บะหมี่สำเร็จรูป โจ๊กซอง ซุปซอง

– อาหารสำเร็จรูปบรรจุถุง เช่น ข้าวเกรียบ ข้าวตังปรุงรส มันฝรั่ง

– เครื่องปรุงรสที่มีเกลือมาก เช่น ซุปก้อน ผงชูรส ผงฟู

– อาหารหมักดองเค็ม เช่น กะปิ เต้าหู้ยี้ ปลาร้า ไตปลา ไข่เค็ม ผักดอง ผลไม้ดอง แหนม ไส้กรอกอิสาน
ที่มา siamhealth.com

Leave a Reply