อาหารปรับสมดุล

การรับประทานอาหารปรับสมดุลร่างกาย

          พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ว่า ” อาหารเป็นหนึ่งในโลก ” อาหารที่สมดุล ก็จะได้สุขภาพดีที่หนึ่ง อาหารไม่สมดุล ก็จะได้สุขภาพเสียที่หนึ่ง

@@@ ตัวอย่างอาหารที่มีผลต่อสุขภาพ @@@

          มีผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ท่านหนึ่งอยู่ภาคเหนือ มีอาการปัสสาวะเป็นเลือด ได้ไปจี้ที่
โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง เสียค่ารักษาพยาบาล 5 หมื่นบาท เมื่อผ่านไประยะหนึ่งเลือดก็ ออกมาอีก ในขณะที่ผู้ป่วยกำลังเดินทางมาเข้าค่ายที่ผู้เขียนจัดผู้ป่วยได้ปรึกษามาทีมงาน สุขภาพ จึงได้แนะนำว่าเป็นภาวะร้อนเกิน ให้หาสิ่งที่มีฤทธิ์เย็นรับประทาน ผู้ป่วยได้เฉาก๊วยซึ่งมีฤทธฺ์เย็นมารับประทาน ปรากฏว่า จากปัสสาวะเป็นเลือดสีน้ำล้างเนื้อก็ค่อย ๆ ใสขึ้น เรื่อย ๆ จนเป็นปกติ (เลือด หยุดไหล) ภายใน 4 ชั่วโมง จะเห็นได้ว่า การไปจี้ที่โรงพยาบาล เสียค่ารักษาพยาบาล 5 หมื่นบาท แต่การรู้อาหารร้อน-เย็นแล้วปรับสมดุลตัวเสียค่าใช้จ่าย ซื้อเฉาก๊วยแค่ 5 บาท

อาหารปรับสมดุล
อาหารปรับสมดุล ภาพประกอบจาก อินเทอร์เน็ต

          ลูกศิษย์ของผู้เขียนท่านหนึ่งเป็นพยาบาลวิชาชีพ มีอาการปวดศรีษะ เมื่อรู้ว่าเกิดจาก
ภาวะร้อน เกิดแต่ไม่อยากรักประทานยาแก้ปวดเพราะ รู้ว่ายาแก้ปวดทุกชนิดที่เป็๋นเคมีพิษ ต่อร่างกาย จึงไปเอามังคุด ซึ่งมีฤทธิ์เย็นมารับประทาน ประมาณ 6 ลูก อาการปวดศรีษะก็หายไป

          ผู้ป่วยเอดส์คนหนึ่ง มีตุ่มหนองเริมงูสวัดขึ้นทั้งตัว หมอท่านหนึ่งที่ดูแลผู้ป่วยอยู่ ได้โทรมาปรึกษาผู้เขียน ผู้เขียนจึงบอกว่า เป็นภาวะร้อนเกิน ให้ถอนพิษร้อน ช่วงเวลาต่อมา หมอท่านนั้นได้มา
กล่าวคำขอบคุณผู้เขียนและบอกว่าหลังจากที่ปฎิบัติแค่ 2 วัน อาการดังกล่าวก็ยุบลง ผู้เขียน จึงถามว่าทำอย่างไร หมอท่านนั้นตอบว่าต้มฟัก ต้มถั่วเขียวให้รับประทาน (ฟักและถั่วเขียว มีฤทธฺ์เย็น)

          อีกกรณี มีอยู่ครั้งหนึ่ง ผู้เขียนไปรับประทานจับฉ่าย (ซึ่งมีฤทธิ์ร้อนมาก จากน้ำมันและการอุ่นซ้ำ ๆ) เกิดอาการหูอื้อ (หูดับตับไหม้/ตับร้อน) ผู้เขียนจึงแก้ไขด้วยการเอาส้มตำรสไม่จัด(มีฤทธิ์เย็น)มารับประทาน อาการทุเลาและหายภายใน 5 นาที จากนั้นผู้เขียนก็รับประทานจับฉ่ายอีก อาการหูอื้อก็กับมาอีก พอรับประทานส้มตำแก้ อาการหูอื้อก็หายไปอีก

          ยังมีตัวอย่างอีกมากมายที่ผู้เขียนไม่สามารถนำเสนอได้หมดในที่นี้ จะเห็นได้ว่า อาหารมีผลต่อสุขภาพอย่างมาก อาการเจ็บป่วยเฉียบพลัน ถ้าเรารีบแก้ด้วยการปรับสมดุลด้วยอาหาร อาการก็มักจะทุเลาหรือหายไปอย่างรวดเร็ว

          แต่ถ้าเป็นเรื้อรังอาจต้องใช้เวลาบ้าง การปรับสมดุลด้วยก็มักจะทุเลาหรือหายไปอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าเป็นเรื้อรัง อาจต้องใช้เวลาบ้าง

การปรับสมดุลด้วยอาหาร จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่สำคัญมาก อีกอย่างหนึ่งที่น่าฝึกฝนเรีบนรู้ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

          7.1 เพิ่มการรับประทาน ผัก ผลไม้ที่ไม่หวานจัด และโปรตีนจากถั่วหรือปลา (สำหรับผู้ที่ไม่สามารถงดเนื้อสัตว์)

          7.2 ควรปรุงอาหารด้วยการต้มหรือนึ่ง ปรุงรสไม่จัดจนเกินไป ถ้าเป็นไปได้ ควรปรุงรสอยู่ในระดับประมาณ 10-30 % ของที่เคยปรุง อาจปรุงมากหรือน้อยกว่านี้ตามความสมดุลพอดีของร่างกาย ณ ปัจจุบันนั้น ๆ ซึ่งตัวชี้วัดของความสมดุลพอดี คือ ความรู้สึกสบาย เบากาย มีกำลัง หรือถ้าผู้ที่ติดรสจัดมาก ก็ค่อย ๆ ลดรสจัดของอาหารลง ให้มากที่สุด เท่าที่จะพอรับประทานได้โดยไม่ลำบากนัก

          7.3 งดหรือลดการรับประทานอาหารที่หวานจัด เช่น ของหวาน น้ำหวาน น้ำอัดลม เครื่องบำรุงกำลัง ผลไม้หรือน้ำผลไม้ที่หวานจัด อาหารที่เค็มจัด เช่น ปลาร้า ผักดอง เนื้อเค็ม ไข่เค็ม อาหารที่ปรุงเค็มมาก และอาหารที่มีผงชูรสมาก

          (มีการวิจัยของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า อาหารที่มีโซเดียมมากเกิน เค็มจัดหรือมีผงชูรสมาก ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง หัวใจโตน้ำหนักเพิ่ม ไตเสื่อม ภูมิต้านทานลด และรหัสพันธุกรรมผิดปกติ)

          อาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารผัดทอด เนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง ได้แก่ เนื้อหมู วัว ควาย ไก่พันธุ์เนื้อ อาหารทะเล เป็นต้น และอาหารที่ปรุงรสอื่น ๆ จัดเกินไป เช่น เผ็ด เปรี้ยว ขม ฝาด เป็นต้น

          ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มเกลือแร่ เครื่องดื่มบำรุงกำลังต่าง ๆ

          นำหมัก ข้าวหมาก รวมถึงอาหารที่มีวิตามินน้อย แต่มีโซเดียมหรือไขมันสูงเกิน ได่แก่ อาหารแปรรูปหรือสำเร็จรูปต่าง ๆ เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมอมขนมกรุบกรอบ ขนมปัง อาหารกระป๋อง ไส้กรอก หมูยอ กุนเชียง ปลาเค็ม เนื้อเค็ม ไข่เค้ม ของหมักดอง อาหารทะเล (จะมีทั้งไขมันและโซเดียมสูง) เป็นต้น

          7.4 หลักปฎิบัติ 4 อย่าง ในการรับประทานอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดี
1. ฝึกรับประทานอาหารตามลำดับ
2. เคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน
3. รับประทานในปริมาณที่พอดีรู้สึกสบาย
4. กลืนลงคอให้ได้ เพราะอาหารสุขภาพมักจะไม่อร่อย ยกเว้น ผู้ที่มีบุญบารมีมากหรือผู้ที่ฝึกรับประทานบ่อย ๆจะรู้สึกอร่อยไปเอง

เทคนิคที่สำคัญในการรับประทานอาหารให้อร่อย คือ …
          – รอให้รู้สึกหิวมากๆ ก่อนแล้วค่อยลงมือรับประทาน
          – หมั่นระลึกถึงประโยชน์ของอาหารสุขภาพให้มาก
          – หมั่นระลึกถึงผลเสียของอาหาร ที่ไม่สมดุลหรือเป็นพิษให้มาก

กรณีที่มีภาวะร้อนเกิน ในมื้อหลัก 1 มื้อ ใน 1 วัน อาจเป็นช่วงเช้าหรือเที่ยงก็ได้ มีเทคนิคการรับประทานอาหารตามลำดับ คือ

          ลำดับที่ 1 ดื่มน้ำสมุนไพรปรับสมดุล เช่น น้ำย่านาง ฯลฯ
          ลำดับที่ 2 รับประทานผลไม้ฤทธิ์เย็น เช่น กล้วยน้ำว้า แก้วมังกร กระท้อน สับปะรด ส้มโอ ชมพู่ มังคุด แตงโม แตงไทย ฯลฯ
          ลำดับที่ 3 รับประทานผักฤทธิ์เย็นสด เช่น อ่อมแซบ(เบญจรงค์) ผักบุ้ง แตง กว้างตุ้ง สายบัว ผักกาดฮ่องเต้ ผักกาดขาว ผักสลัด
          ลำดับที่ 4 รับประทานข้าวจ้าวพร้อมกับข้าว โดยรับประทานข้าวกล้องหรือข้าวซ๋อมมือ ควรงดหรือลดคาร์โบไฮเดรท ที่มีฤทธิ์ร้อนมาก
เช่น ข้าวเหนียว ข้าวแดง ข้าวดำ(ข้าวก่ำ ข้าวนิล) ข้าวอาร์ซี ข้าวสาลี ข้าบาเลย์ เผือก มัน กลอย
          ลำดับที่ 5 รับประทานต้มถั่วหรือธัญพืชฤทธิ์เย็น เช่น ถั่วขาว ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา ถั่วโชเล่ย์ขาว ลูกเดือย

          กรณีที่มีภาวะเย็นเกินแทรกขึ้นมา ให้กดน้ำร้อนใส่สมุนไพรฤทธิ์เย็นหรือตั้งไฟให้ร้อนก่อนรับประทาน ลดหรืองดสิ่งที่มีฤทธิ์เย็น

          รับประทานผักหรืออาหารผ่านไฟให้มากขึ้น เพิ่มสิ่งที่มีฤทธฺ์ร้อนเข้าไป ตามสภาพร่างกายที่รับประทานแล้วรู้สึกสบาย

ที่มาจาก ข้อมูลแพทย์วิถีธรรม

Leave a Reply